E-Portfolio
สรุปองค์ความรู้วิทย์
หากเราต้องการระบุสสารอย่างจำเพาะเจาะเราจะเรียก สสารนั้นว่า สาร (substance) ซึ่งสสารแต่ละชนิดนั้นมีสมบัติแตกต่างกันไป สมบัติที่เราควรทราบที่จัดว่าเป็นสมบัติทางกายภาพพื้นฐานของสสารแต่ละชนิดคือ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ส่วนคำว่าสมบัติทางกายภาพ (Physical properties) เป็นสมบัติที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของสารโดยที่สมบัติทางเคมียังคงเดิม เช่น นำเกลือNaCl ละลายน้ำ เมื่อกลายเป็นสารละลายก็ยังคงมีรสชาติเค็มเช่นเดิมและประกอบด้วย Na+ และ Cl- เมื่อน้ำระเหยไปก็จะกลับมาเป็นผลึกเกลือ NaCl เช่นเดิม ตัวอย่างที่ควรทราบที่จัดเป็นสมบัติทางกายภาพคือ การเปลี่ยนสถานะ การละลายน้ำ เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจุดเดือด จุดหลอมเหลวของสสารก่อนเนื่องจากเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญแล้วยังเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสสารแต่ละชนิดที่จะมีค่าจุดเดือด จุดหลอมเหลวไม่เท่ากัน
จุดเดือด(boiling point) เมื่อเราทำการต้มน้ำจนกลายเป็นไอ น้ำจะเริ่มจะเริ่มเดือดที่อุณหภูมิที่ 100 องศาเซลเซียส ณ ความดัน 1 บรรยากาศ มักมีคำถามเสมอเมื่อไหร่จึงจะเรียกว่าเดือดเพราะแม้ว่าอุณหภูมิยังไม่ถึง 100 องศาเซลเซียส เราก็มักจะพบว่าน้ำนั้นเริ่มกลายเป็นไอ วิธีการง่ายคือให้เราต้มน้ำแล้วปิดฝาแล้ววัดความดันไอของน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่ความดันของไอน้ำเท่ากับความดันบรรยากาศภายนอกแสดงว่าถึงจุดเดือดของน้ำแล้ว
จุดหลอมเหลว(melting point) เป็นอีกสมบัติเฉพาะตัวหนึ่งของสสารที่ใช้บอกชนิดของของแข็งได้ ถ้าเรานำก้อนน้ำแข็งจากแก้วที่มีอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส มาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) น้ำแข็งก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งอุณหภูมิที่ 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งจะเริ่มกลายเป็นน้ำ อุณหภูมิที่ของแข็งละลายนั้น เราเรียกว่า จุดหลอมเหลว เนื่องจากน้ำแข็งหลอมเหลวที่อุณหภูมิเดียวเท่านั้น ดังนั้นจุดหลอมเหลวจึงเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสสาร
มีของแข็งหลายชนิดที่หลอมเหลวยากกว่าน้ำแข็ง เช่น ถ้าเราให้ความร้อนแก่เกลือ NaCl เกลือจะไม่ละลายถ้าอุณหภูมิไม่สูงถึง 800 องศาเซลเซียส
การเปลี่ยนแปลงของสสาร
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของสสารทางกายภาพที่กล่าวมาแล้ว ยังการเปลี่ยนแปลงของสสารที่ก่อให้เกิดสารใหม่เกิดขึ้นซึ่งเราเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาน้ำตาลจนหลอมเหลวเป็นคาราเมล เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจนสิ้นสุดแล้วอนุภาคของน้ำตาลจะกลายเป็นสารอื่น อีกตัวอย่าสงคือการเผาไหม้ ขณะที่กระดาษกำลังติดไฟจะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศเป็นแก๊สที่กำลังลุกไหม้ กระบวนนี้จะเปลี่ยนกระดาษเป็นขึ้เถ้าและแก๊สต่างๆ ไม่คงเหลือเนื้อไม้อีกต่อไป ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของสมบัติเฉพาะของสสาร เรียกสมบัตินี้ว่า ความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมี (chemical activit